analyticstracking
หัวข้อลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย…เพื่อประชาชนฐานราก
             ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.3 เห็นด้วยว่าควรให้สวัสดิการเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย โดยร้อยละ
48.4 ระบุว่าโครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
และร้อยละ 39.6 ระบุว่าทำให้รัฐบาลสามารถการแก้ปัญหาได้ตรงจุดฐานราก
              ทั้งนี้สวัสดิการที่ผู้ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยควรได้รับ คือการรักษาพยาบาลฟรี หรือมีส่วนลดค่ารักษา
ในรพ.เอกชนขณะที่ประชาชนทั้งประเทศไม่ว่าจนหรือรวยก็ควรได้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลเช่นกัน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย…เพื่อประชาชน
ฐานราก”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
จำนวน 1,210 คน พบว่า
 
                 ความเห็นต่อโครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยที่เพิ่งผ่านไป
ว่าจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ได้เพียงใด ประชาชนร้อยละ 51.6 ระบุว่า
ช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ ร้อยละ 48.4 ระบุว่าช่วยได้ค่อนข้างมาก
ถึงมากที่สุด
 
                 ส่วนสวัสดิการจากภาครัฐที่ผู้ผ่านการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย
ควรได้รับมากที่สุด ประชาชนร้อยละ 24.4 ระบุว่า ควรรักษาพยาบาลฟรี หรือ
มีส่วนลดค่ารักษาในรพ.เอกชน
รองลงมาร้อยละ 23.0 ระบุว่า ควรให้เงินช่วยเหลือ
ค่าครองชีพ และร้อยละ 18.3 ระบุว่า ควรจัดหางานสำหรับผู้ว่างงาน
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามว่ารัฐควรให้สวัสดิการเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยหรือคนทั้งประเทศอย่างเสมอภาคกัน
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.3 ระบุว่าควรให้สวัสดิการเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย
ขณะที่ร้อยละ 35.7 ระบุว่าควรให้
สวัสดิการกับคนทั้งประเทศเสมอภาคกัน
 
                 โดยสวัสดิการที่ภาครัฐควรมีให้กับประชาชนทั้งประเทศทั้งคนรวยและคนจน ประชาชนร้อยละ 43.4
ระบุว่าสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล (รักษาฟรี คงบัตรทอง คุณภาพการรักษาพยาบาลเสมอภาคกัน)
ร้อยละ
17.5 ระบุว่า ด้านการลดค่าครองชีพ (ลดราคาสินค้า จัดขายของถูก ลด/ฟรีค่าน้ำ - ค่าไฟรถเมล์-รถไฟฟรี ฯลฯ และร้อยละ 13.8
ระบุว่า ด้านการอบรมวิชาชีพ/ สร้างอาชีพ
 
                  สำหรับโครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยจะส่งผลต่อการบริหารประเทศอย่างไรนั้น ประชาชน
ร้อยละ 39.6 ระบุว่า ทำให้รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดฐานราก
รองลงมาร้อยละ 26.1 ระบุว่าทำให้รัฐบาล
ได้ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศ และร้อยละ 18.1 ระบุว่า ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณแผ่นดินสูงขึ้น
 
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ผลจากการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนได้เพียงใด

 
ร้อยละ
ช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ช่วยได้ค่อนข้างมาก ร้อยละ 40.5 และช่วยได้มากที่สุดร้อยละ 7.9)
48.4
ช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นช่วยได้ค่อนข้างน้อยร้อยละ 37.4 และช่วยได้น้อยที่สุดร้อยละ 14.2)
51.6
 
 
             2. ประชาชนที่ผ่านการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยควรได้รับสวัสดิการจากภาครัฐมากที่สุดคือ

 
ร้อยละ
รักษาพยาบาลฟรี /มีส่วนลดค่ารักษาในรพ.เอกชน
24.4
ให้เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ
23.0
จัดหางานให้ผู้ที่ว่างงาน
18.3
คูปองส่วนลดค่าน้ำค่าไฟค่าเดินทาง
11.1
ให้เงินทุนในการสร้างงานสร้างอาชีพ
10.7
การลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืม
4.6
จัดหาที่อยู่อาศัย/ซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยราคาพิเศษ
4.3
ส่วนลดเมื่อซื้อสิ้นค้าอุปโภคบริโภค
3.5
 
 
             3. รัฐควรให้สวัสดิการเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยหรือคนทั้งประเทศเสมอภาคกัน

 
ร้อยละ
ควรให้สวัสดิการเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย
64.3
ควรให้สวัสดิการกับคนทั้งประเทศเสมอภาคกัน
35.7
 
 
             4. สวัสดิการที่ภาครัฐควรมีให้กับประชาชนทั้งประเทศทั้งคนรวยและคนจน มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
                  (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


 
ร้อยละ
ด้านการรักษาพยาบาล อาทิ รักษาฟรี คงบัตรทอง คุณภาพการรักษาพยาบาลเสมอภาคกัน
43.4
ด้านการลดค่าครองชีพ ได้แก่ ลดราคาสินค้า จัดขายของถูก ลด/ฟรีค่าน้ำ - ค่าไฟ รถเมล์-รถไฟฟรี ฯลฯ
17.5
ด้านการอบรมวิชาชีพ/ สร้างอาชีพ
13.8
ด้านการควบคุมราคาสินค้าเกษตร
8.0
ด้านการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
5.4
 
 
             5.โครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยจะส่งผลต่อการบริหารประเทศอย่างไร

 
ร้อยละ
ทำให้รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดฐานราก
39.6
ทำให้รัฐบาลได้ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศ
26.1
ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณแผ่นดินสูงขึ้น
18.1
ทำให้รัฐบาลได้สร้างฐานคะแนนนิยม
16.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบายลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาล
ในประเด็นต่างๆ รวมถึงผลที่รัฐบาลได้รับข้อมูลจากการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็น
ของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)และคำถามปลายเปิดที่ผู้ตอบตอบได้เองโดยอิสระ
(Open ended)จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ ลงรหัสก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 19-21 มิถุนายน 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 24 มิถุนายน 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
585
48.3
             หญิง
625
51.7
รวม
1,210
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
144
11.9
             31 – 40 ปี
259
21.4
             41 – 50 ปี
317
26.2
             51 – 60 ปี
301
24.9
             61 ปีขึ้นไป
189
15.6
รวม
1,210
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
787
65.0
             ปริญญาตรี
331
27.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
92
7.6
รวม
1,210
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
156
12.9
             ลูกจ้างเอกชน
255
21.1
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
493
40.7
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
36
3.0
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
211
17.4
             นักเรียน/ นักศึกษา
25
2.1
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
33
2.7
รวม
1,210
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776